อาลัยรัก
‘จุ๋ม’
นางสาววราทิพย์
อยู่พลีวีรกุล
นางสาววราทิพย์
อยู่พลีวีรกุล (อัจฉรา
อยู่พลี)
หรือ
‘จุ๋ม’ ลูกสาวคนโตของพ่อเวก
และ แม่บุญรอด อยู่พลี
เกิดที่โรงพยาบาลจุฬาฯ
เมื่อวันที่ 3
ตุลาคม
2497
เติบโตในเรือนไม้
2
ชั้นหลังกะทัดรัดกลางทุ่งกว้างบนที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
(ใกล้โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์
ถนนสุนทรโกษา เขตคลองเตย)
อย่างอบอุ่น
พ่อเวกเป็นพนักงานการท่าเรือฯ
จนเกษียณ ใช้ชีวิตอย่างสมถะ
รอยยิ้มเยือกเย็นบนใบหน้าคมเข้มของพ่อและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อญาติมิตรและคนรอบข้างดูจะถูกซึมซับอยู่ในตัวเด็กหญิงอัจฉราตั้งแต่รู้ความ
ความอ่อนหวานนุ่มนวล
ช่างปรนนิบัติของแม่ก็แฝงอยู่ในตัวจุ๋มไม่น้อย
‘พี่หลาบ’
ลูกของญาติที่พ่ออุปการะเป็นบุตรบุญธรรมและโตมาด้วยกันพูดถึงจุ๋มว่าเป็นเด็กเรียบร้อย
ร่าเริง ข้าง‘พี่ขาว’
ลูกบุญธรรมอีกคนของบ้านนี้ก็บอกว่าจุ๋มเป็นเด็กอารมณ์ดี
สนุกสนาน เป็นคนนิ่ม
จุ๋มมีน้องสาวคนเดียว
คือ ‘หน่อย’ ชื่อจริงว่า
วัชรี รัศมี มีหลานรักให้จุ๋มสองคน
คือ ‘โอ๊ต’ (น.ส.
ชมพิชาณ์)
กับ
‘แอร์’ (น.ส.
รวิวรรณ)
ทุ่งโล่งรอบบ้านคลองเตยมีคนจรมาเพิงมาพักกันมากขึ้นๆ
จนกลายเป็นชุมชนสลัมสองข้างทางรถไฟ
นานวันเริ่มมีน้ำครำเอ่อขึ้น
จนต้องยกพื้นครัวที่อยู่ชั้นล่างของบ้านให้สูงขึ้น
เสริมกันแทบทุกปีจนเพดานครัวเตี้ยลงๆ
จึงไม่น่าแปลกที่จุ๋มฝันอยากไปอยู่บ้านนอก
เพื่อนๆ หลายคนคงจำกันได้
จุ๋มมักปรารภว่าไม่ชอบอยู่ในกรุงเทพฯ
ที่นับวันแออัด อึกทึก
อากาศเจือไอเสียไม่ชวนให้หายใจเต็มปอด
จุ๋มเรียนที่โรงเรียนอรุณนิเวศน์ศึกษา
ย่านคลองเตยใกล้บ้านตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนจบม.ปลาย
พี่หลาบบอกว่าจุ๋มเรียนเก่ง
ได้ที่ 1
ตลอด
จุ๋มท้าวความหลังให้เพื่อนๆ
ฟังว่า “ตอนจะสอบเอ็นทรานซ์
ยังไม่รู้ว่าอยากจะเป็นอะไร
เห็นอักษรฯ ไม่ต้องเรียนคณิตฯ
ก็ตัดสินใจเลือก”
ก็เลยได้เข้าไปเป็นชาวเทวาลัย
(สาวอักษรฯ
จุฬา)
กับเขาด้วยคน!
กล่าวได้ว่า
จุ๋มก็เป็น ‘คนเดือนตุลา’
เช่นเดียวกับเพื่อนนิสิตนักศึกษาอีกมากมายที่เติบโตในยุคแสวงหา
มีจิตสำนึกทางการเมืองสูงและถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องลงจากหอคอยงาช้างออกไปรับใช้ประชาชน
ขณะเกิดเหตุการณ์นองเลือด
6 ตุลา
จุ๋มเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ปราจีนบุรี
ยังไม่วายถูกข่มขู่คุกคาม
จนต้องกลับเข้ากรุงเทพฯ
เพื่อจะพบว่าเพื่อนๆ พี่ๆ
หลายคนคนต้องลี้ภัยเข้าป่าเขาหรือออกนอกประเทศ
อย่างไรก็ดี
จุ๋มยังกลับไปสอนหนังสืออีก
คราวนี้ไปสอนที่โรงเรียนชุมแสงชนูทิศ
อ.
ชุมแสง
จ.
นครสวรรค์
และได้เพื่อนแท้ที่พัวพันกันตลอดช่วงชีวิตที่เหลือมาอีกหลายคน
ก่อนจะลาจากอาชีพเรือจ้างเมื่อปี
2526
จุ๋มเป็นคนคงเส้นคงวากับทุกคนเสมอ
แม้ในยามจะถึงปลายทางแห่งชีวิต
จุ๋มก็เลือกที่จะไปเองโดยไม่ต้องเป็นภาระให้น้องสาวต้องว้าวุ่นใจเมื่อหมอเริ่มส่งสัญญานว่าหน่อยอาจจะต้องเซ็นยินยอมปล่อยให้พี่สาวไป
ในแง่การงาน
จุ๋มชื่นชมคุณไพบูลย์
วัฒนศิริธรรม เคยปรารภกับเพื่อนสนิทว่า
อยากเป็นเลขาคุณไพบูลย์จัง
จะได้ซึมซับแนวคิดในการทำงานจากผู้ใหญ่ที่จุ๋มชื่นชมท่านนี้
แล้วจุ๋มก็ได้ไปร่วมงานกับคุณไพบูลย์จริงๆ
ที่มูลนิธิบูรณชนบทในฐานะนักวิจัยอาวุโส
น้องๆ หลายคนที่นั่น เช่น
‘แอน’ และ ‘อรุโณทัย’
พูดถึงตัวตนจุ๋มที่นอกจากจะ
“อ่อนนอกแข็งใน” แล้ว
ยังเป็นนักปิดทองหลังพระอีกด้วย
งานจุ๋มหลายงานที่ได้รับรางวัล
อย่างน้อย 2
ชิ้น
งานวิจัยจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในภาคใต้ก็เข้าตากรรมการอย่างคุณไพบูลย์ไม่น้อย
และมีงานเรียบเรียงรายงานประเมินผลของสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์อย่างน้อย
1
ชิ้นที่ได้รับรางวัลซึ่งการันตีฝีมือด้านการติดตามประเมินผลที่หาตัวจับยากคนหนึ่ง
จุ๋มยังเป็นที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชนที่เพื่อนกรรมการปลื้มมากทั้งในแง่ของงานและปฏิปทาข้างต้น
บ้านคลองเตยโดนเวณคืนราวปี
2521
พ่อก็มาปลูกบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้อยู่ย่านตลาดบางจาก
กระทั่งถึงปี 2524
แม่ป่วยและเสียชีวิตไปในปี
2547
ต่อมาพ่อก็ป่วยเป็นอัมพฤกษ์และเสียชีวิตลงในปี
2550
เชื่อไหมว่า
สมัยอยู่จุฬาฯ
จุ๋มเป็นเชียร์ลีดเดอร์ที่มีความสุขและสนุกกับเพื่อนสุดๆ
คนหนึ่ง?
เชื่อไหมว่าจุ๋มเคยเป็นนางเอกละครทีวีคนแรก
ๆ ของเจ้าแม่เจเอสแอล‘จำนรรค์ฯ’
สมัยเริ่มทำกับช่อง 5
ใหม่
ๆ เพื่อน ๆ จำได้ว่านางเอกชื่อบัวเรียว?
คงไม่มีใครเขียนประวัติตัวเองได้ดีกว่าเจ้าตัว
ฉะนั้นจึงขอนำ CV
หรือประวัติย่อฉบับล่าสุดที่ค้นพบ
ซึ่งจุ๋มทำขึ้นเมื่อเดือนกันยายน
2551
มาไว้ข้างล่างนี้
แต่เท่าที่ทราบ
ดูจะไม่ได้นำไปสมัครงานที่ไหน
เพราะจุ๋มมุ่งมั่นศึกษาธรรมะจนได้ธรรมศึกษาโทจากวัดธรรมมงคล
และกำลังจะสอบธรรมศึกษาเอกในเร็วๆ
นี้
โดยตั้งใจจะเป็นพี่เลี้ยงหรือครูทางธรรมแก่ญาติธรรมและเพื่อนร่วมโลก
ชีวิตในบั้นปลายจะมุ่งทางธรรม
น้องหน่อย
หลานโอ๊ต หลานแอร์ ญาติ ๆ
และผองเพื่อนขอร่วมอนุโมทนาในกุศลจิตของจุ๋ม
และขอให้จุ๋มไปสู่สัมปรายภพอย่างสุขสงบ
เทอญ
***************************
นางสาววราทิพย์
อยู่พลีวีรกุล(อัจฉรา อยู่พลี) เกิด 3
ตุลาคม
2497
การศึกษา อักษรศาสตร์บัณฑิต (ประวัติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2517)
การศึกษา อักษรศาสตร์บัณฑิต (ประวัติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2517)
รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต
(การฑูตและการระหว่างประเทศ)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(2533)
ประกาศนียบัตรด้านสตรีศึกษาเพื่อสังคมและการแลกเปลี่ยนระหว่างวัฒนธรรม
Institute
of Women’s Studies – St.Scholastica’s College ประเทศฟิลิปปินส์
(2534)
การฝึกอบรม/สัมมนา
23-29
สิงหาคม
2530 ศึกษาดูงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับ
อพช.ไทย
ที่ Sahabat
Alam Malaysia (SAM) &
The Consumers Associations of Penang ประเทศมาเลเซีย
The Consumers Associations of Penang ประเทศมาเลเซีย
1-25
มิถุนายน
2531 สัมมนา
“Reviewing
Strategies for International Solidarity”
ประเทศเกาหลี
มิถุนายน
2531-2532 ทุนแลกเปลี่ยนศึกษาดูงานด้านสิทธิมนุษยชนที่
Asian Center for the progress of Peoples ฮ่องกง
Asian Center for the progress of Peoples ฮ่องกง
ธันวาคม
2532 อบรมเชิงปฏิบัติการ
“A
Theatre Arts for Asian Migrant Workers”
โดย
The
Association
of Concerned Filipinos ที่ฮ่องกง
of Concerned Filipinos ที่ฮ่องกง
กันยายน-พฤศจิกายน
2534 อบรม
“Intercultural
Course on Women and Society”
โดย
Institute
of Women”s
Studies St.Schollastica, ประเทศฟิลิปปินส์
Studies St.Schollastica, ประเทศฟิลิปปินส์
2-4
กรกฎาคม
2537 อบรมเชิงปฏิบัติการโดยกระบวนการ
AIC
เพื่อวางแผนพัฒนาองค์กร,
โดยมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, พัทยา
โดยมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, พัทยา
4-6
กุมภาพันธ์
2538
อบรม
TOT
, มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์และสถาบันที่ปรึกษานาน
ชาติเพื่อการพัฒนา ศูนย์ฝึกอบรมจังหวัดชัยนาท
ชาติเพื่อการพัฒนา ศูนย์ฝึกอบรมจังหวัดชัยนาท
21-29
มิถุนายน
2539 ประชุม
“XVI
World Congress” โดย
Confederation
of Free Trade Unions, กรุงบรัสเซล
ประเทศเบลเยียม
ประเทศเบลเยียม
21-26
เมษายน
2539
ประชุม
“Women’s
Employment Assistance”
โดย
ILO/Japan
Asian Regional Tripartite
Workshop, กรุงเทพฯ
Workshop, กรุงเทพฯ
7-13
สิงหาคม
2540 อบรม
“การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA)“โดยศูนย์เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และ CEGA กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และ CEGA กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี
29-2
กันยายน
2543 ประชุม
“Industrial
Relations and Globalization”
โดย
ICFTU-APRO/JIL
กรุงมนิลา
ประเทศฟิลิปปินส์
ประเทศฟิลิปปินส์
การทำงาน นักวิจัยและพัฒนาอิสระ
(2543-ปัจจุบัน)
ผู้ช่วยโครงการฝ่ายเบลเยี่ยม
โครงการสร้างงานนอกภาคเกษตรกรรม
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับ
BADC/BTC
เบลเยี่ยม
(2541-2543)
เจ้าหน้าที่ติดตามและประเมินผล
โครงการประสานความร่วมมือเพื่ออนุรักษ์และพัฒนากลุ่มป่าห้วยขาแข้ง
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมร่วมกับ
DANCED
เดนมาร์ก
(2539-2541)
นักวิจัยอาวุโส
มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2536-2539)
ผู้อำนวยการ
สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาชนบท
(2535)
ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ
สภาองค์กรพัฒนาชุมชน
(2533-2534)
นักวิจัย
Asian
Migrant Workers Centre, ฮ่องกง
(2532)
Intern
Fellow ที่
Asian
Centre for the Progress of People ฮ่องกง
(2531)
ผู้ประสานงานภาคเหนือ
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(2529-2531)
นักวิจัย
โครงการโสตทัศนวัสดุ
สถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(2526-2529)
อาจารย์
โรงเรียนมัธยมศึกษาของสำนักงานการศึกษาเอกชนและกรมสามัญศึกษา
(2518-2526)
งานเขียน 16. “บทสังเคราะห์การติดตามและประเมินผลโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนปี
2546”
(ร่วมคณะศึกษาและบรรณาธิการ) เสนอสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน, บริษัทร่วมทุนชนบท, พฤษภาคม 2548
(ร่วมคณะศึกษาและบรรณาธิการ) เสนอสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน, บริษัทร่วมทุนชนบท, พฤษภาคม 2548
15. วิจัย
“1
ทศวรรษแป้งขนมจีน
พ.ศ.ช.
: บทเรียนของเอ็นจีโอที่อาจหาญทำธุรกิจให้เติบโตและมั่นคง”
เสนอต่อพ.ศ.ช.
กรุ๊ป,
มูลนิธิพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชน,
มิถุนายน
2546
14. “การดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียนและฝึกอบรมอาชีพเพื่อต่อต้านรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็กรวมถึงการลักพาตัว” (ร่วมแปล และเรียบเรียงจากเอกสาร ILO,2002) เสนอต่อโครงการระหว่างประเทศเพื่อขจัดปัญหาแรงงานเด็ก องค์การแรงงานระหว่างประเทศ, กันยายน 2545
13. รายงาน “การประเมินผลโครงการประสานใจ (คุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน)” (ช่วยเรียบเรียง) เสนอต่อมูลนิธิเอเซีย: สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์, มกราคม 2545
12. “สตรีชนบทกับการพัฒนาธุรกิจขนาดเล็ก : คู่มือฝึกอบรมและการดำเนินงานโครงการ สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม” (ร่วมแปลและเรียบเรียงจากเอกสาร ILO,1997) เสนอต่อโครงการสร้างงานนอกภาคเกษตรกรรม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวง อุตสาหกรรม , มีนาคม 2543
11.
“คู่มือผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดอุทัยธานี
– โครงการประสานความร่วมมือเพื่ออนุรักษ์และพัฒนากลุ่มป่าห้วยขาแข้ง”
(ร่วมคณะศึกษาและบรรณาธิการ)
เสนอสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,
มกราคม
2541
10.
วิจัย
“กองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยและชุมชนเมืองแบบครบวงจร”
(ร่วมคณะวิจัย)
เสนอต่อการเคหะแห่งชาติ,สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
มหาวิทยาลัยมหิดล,
มกราคม
2539
9.
วิจัย
“สถานภาพทางการเงินของประชาชนฐานรากและโครงการส่งเสริมขบวนการออมทรัพย์ชุมชน”
(ร่วมคณะวิจัย)
เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
,
มูลนิธิบูรณะชนบทแห่ง
ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์,
สิงหาคม
2538
8. “โครงการประสานความร่วมมืองานฝึกอบรมระดับภูมิภาคระยะที่
1
:
ความจำเป็นและความเป็นไปได้ในการให้บริการงานฝึกอบรมด้านบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาแก่องค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศไทยและอินโดจีน”
(ร่วมคณะศึกษา)
เสนอต่อ
Asian
Community Trust, กรกฎาคม
2537
7.
วิจัย
“การปรับปรุงรูปแบบ
โครงสร้างและวิธีบริหารจัดการกองทุนพัฒนาชนบท”
(ร่วมคณะวิจัย)
, เสนอต่อ
คณะอนุกรรมการกองทุนพัฒนาชนบท
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,
สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม
มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
มีนาคม 2537
6.
นิศา
บูรณากานต์ (นามปากกา)
, “วิถีคนกล้า
:
วิถีของความรุนแรงและความเหลื่อมล้ำทางเพศในวิจารณ์หนังทัศนะใหม่”
,
สำนักพิมพ์เจนเดอร์เพรส,
2535
5.
วิจัยประเมินผล
“โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
(ภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชน”
เสนอต่อ Community
Aid Abroad ออสเตรเลีย,
สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาชนบท
,
สิงหาคม
2535
4. วิจัยประเมินผลงานบริหารจัดการ
“TIDA
Confilict and Resolution”
เสนอต่อ
NOVIB
เนเธอร์แลนด์,
สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาชนบท,
มกราคม
2535
3.
วิจัย
“นโยบายและมาตรการของรัฐในการคุ้มครองผู้ช่วยแม่บ้านไทยในฮ่องกง”
,
คณะรัฐศาสตร์
(การฑูตและการระหว่างประเทศ)-
สารนิพนธ์
,
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
,
2534
2.
วิจัยสำรวจ
“สถานภาพและปัญหาแรงงานหญิงไทยในฮ่องกง”
,
Asian Migrant Workers Centre, ฮ่องกง
2532
1.
“ทำเนียบกฎหมายด้านความมั่นคงแห่งชาติ
และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการละเมิด
สิทธิมนุษยชนในเอเซีย”
เสนอต่อ The
Asian Center for the Progress of Peoples , ฮ่องกง,กันยายน
2532
สมาชิกองค์กร 2545
- ปัจจุบัน กรรมการมูลนิธิพัฒนาการศึกษาเพื่อชุมชน
(ม.พศช.)
2544
- 2547 กรรมการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนักพัฒนา
จำกัด
2538 รองประธานสหกรณ์เครดิตยูเนียนนักพัฒนา
จำกัด
2533-
2539 กรรมการที่ปรึกษา
สมาคมเพื่อนไทยในฮ่องกง
2533
- ปัจจุบัน สมาชิกสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
2534 กรรมการก่อตั้ง
ศูนย์แรงงานอพยพแห่งเอเชีย
ฮ่องกง
2533
- 2534 กรรมการบริหาร
โครงการเพื่อนแรงงานหญิงไทยในเอเชีย
2529
- ปัจจุบัน สมาชิกสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
2522
- 2523 ประธาน/รองประธาน
คณะกรรมการท้องถิ่น จ.
นครสวรรค์
มูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม
2520
- 2521 รองประธาน/เลขานุการคณะกรรมการชมรมเพื่อเด็ก
อ.ชุมแสง
จ.นครสวรรค์
2517.รองประธานกลุ่มเยาวชนพัฒนาสลัม กรุงเทพ
2517.รองประธานกลุ่มเยาวชนพัฒนาสลัม กรุงเทพ
2516 สมาชิกโครงการเผยแพร่ประชาธิปไตย
ศูนย์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
ที่อยู่ 82
ซ.พึ่งมี
28
ถ.สุขุมวิท
93
บางจาก
พระโขนง กรุงเทพฯ 10260
_______________________________________________________________________